วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551

เรียนคอมพิวเตอร์แล้วได้อะไรบ้าง

1. เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างกว้างขวางและไร้พรมแดน
2. เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดต่อสื่อสารสื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
3. กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
4. เป็นเครื่องมือช่วยในการศึกษาค้นคว้า ฝึกทักษะ และหาความรู้ในรูปแบบต่างๆ
5. เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ
6. ช่วยประหยัดเวลา ในการประมวลความรู้ด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
7. ฝึกการพัฒนาการทางด้านร่างกายในทุกๆด้าน
8. เป็นสื่อการเรียนการสอนที่สามารถสร้างความสนใจก่อให้เกิดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. สามารถตามทันต่อข่าวสารและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
10.ช่วยให้มีความรู้ ความเข้าใจต่อการพัฒนาการของเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551

เรื่องที่ศึกษา การจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาคนและคนเป็นผู้พัฒนาและรับผลของการพัฒนา (ประเวศ วะสี 2530: 17) ประเทศใดที่มีการปรับปรุงคนภาพการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โอกาสพัฒนาประเทศย่อมมีความเป็นไปได้มากที่สุดเช่นกัน (กรมวิชาการ 2534: 1-2) ดังที่ ภิญโญ สาธร (2532: 3) กล่าวว่า “... การศึกษาจะดีหรือ ไม่ดีอยู่ที่องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ หลักสูตรเพราะหลักสูตรคือ แผนงานที่จัดให้มีการเรียนรู้ ถ้าแผนงานไม่ดีการจัดให้มีการเรียนรู้ก็ไม่ดีไปด้วย...” ในทำนองเดียวกัน โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2535: 2) กล่าวว่า“...หลักสูตรเป็นตัวคาดหวังเป็นตัวที่มองไปสู่อนาคต อนาคตจะเป็นอย่างไรหลักสูตรเป็นตัวนำเราที่จะพัฒนาไปสู่จุดนั้น...” สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาตลอดมา รัฐบาลมุ่งเน้น และให้ความสำคัญในการให้การศึกษากับประชาชนทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐ ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน (มาตรา43)

ปัจจุบันประเทศไทยได้จัดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อมาพิจารณาความสำคัญของการจัดการศึกษาแต่ละระดับแล้วจะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมนั้นเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน ต้องอาศัยหลักการที่เป็นระบบในการจัด เพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาแต่ละระดับ สำหรับการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษานั้น ถือเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะเป็นการจัดการศึกษาภาคบังคับที่รัฐจัดบริการให้ประชาชนในวัยเรียนทั้งประเทศ จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ อย่างรอบคอบ โดยเฉพาะทางด้านการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ตลอดจนการลงทุนทางการศึกษาให้กระจายไปสู่ระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น (เสน่ห์ จามริก 2528: 3)
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้มุ่งเน้นความต้องการที่หลากหลายของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปตามบริบทของท้องถิ่น ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตจริง จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจของท้องถิ่นของตน สามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีได้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ) 2534: 67)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักด้านการศึกษาฉบับแรกของประเทศไทยที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลกันอย่างกว้างขวางอันเป็นผลกระทบที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาของชาติอย่างมาก ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลในสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทาง วิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (มาตรา 4) การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และ วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) ตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาโดยมีหลักสูตรเป็นตัวจักรสำคัญอันเป็นหลักในการพัฒนาการศึกษา ฉะนั้นในการจัดทำหลักสูตรจึงควรกำหนดให้มีทั้งหลักสูตรแกนกลางสำหรับคนทั้งประเทศ และหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับคนในแต่ละท้องถิ่น ให้หลักสูตรยืดหยุ่นได้ตามสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป (สวัสดิ์ จงกล 2528: 45) และนอกจากนี้ บรรพต สุวรรณประเสริฐ (2544: 6) ได้กล่าวว่า

4
… ความต้องการของสังคม และการเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นผลทำให้หลักสูตรทางการศึกษาต้องมีการเปลี่ยนแปลงตาม เพื่อเตรียมตัวผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ที่จะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเชื่อว่าเนื้อหาหลักสูตรต่างๆ ที่ทางการศึกษาจัดเตรียมไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนนำไปใช้ในสถานการณ์หรือในอนาคตข้างหน้าได้...
นอกจากนี้ พนม พงษ์ไพบูลย์ (2536: 13) ยังได้กล่าวว่าการทำให้หลักสูตรการเรียนการสอน ยืดหยุ่น สอดคล้อง และหลากหลายนั้น จำเป็นต้องกระจายความรับผิดชอบในการปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรให้กับสถานศึกษาให้มากที่สุด แต่ต้องให้อำนาจการกำกับดูแลอยู่กับจังหวัด เพื่อให้ใกล้ชิดกับสถานศึกษาด้วย นี้คือที่มาของความคิดเรื่องหลักสูตรท้องถิ่น คือ ให้ท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ โรงเรียน ชุมชน อำเภอ จังหวัด มีส่วนร่วมให้มากที่สุด...
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ยังได้กำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ ตลอดจนการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ (มาตรา 27) เพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวผู้วิจัย จึงได้ดำเนินการประชุมระดมความคิดเห็น และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในท้องถิ่น เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น สภาพปัจจุบัน และปัญหาความต้องการของท้องถิ่น สำรวจสภาพความต้องการของผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์รายละเอียดจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และความต้องการเร่งด่วน พบว่า ปัญหาสำคัญของท้องถิ่น ที่กำลังทวีความรุนแรง คือ ปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ที่เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประกอบกับการละเลยต่อการใช้ที่ขาดความรู้ ความรู้เท่าไม่การณ์ และประสบการณ์ด้านต่างๆเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรดินอย่างถูกวิธี
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วิจัย เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้กระบวนการทางการศึกษา ในการอบรมสั่งสอน ปลูกฝังให้เยาว์ชนคนท้องถิ่น ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรดิน สร้างจิตสำนึก ร่วมกันอนุรักษ์ใช้และปรับปรุงดินอย่างถูกวิธีตามวิธีธรรมชาติ อย่างยั่งยืนตามวิถีทางธรรมชาติ เพื่อลูกหลานสืบไป จึงได้มีความสนใจที่จะพัฒนาหลักสูตรของถิ่น รายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบ่อปลา ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ อย่างคุ้มค่า ในลักษณะของการจัดทำวิชา
เพิ่มเติมเป็นรายวิชาเลือกเสรี เพื่อใช้เป็นหลักสูตรระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในท้องถิ่นที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการปลูกยางพารา ที่ใช้ดินเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาของท้องถิ่น ทำให้คนในท้องถิ่นมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวเรื่องดินตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญและประโยชน์ของดิน ตลอดจนเกิดจิตสำนึก และปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในการอนุรักษ์ และปรับปรุงบำรุงดิน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าจนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ หวงแหนและผูกพันกับท้องถิ่นของตนเองตลอดไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ศึกษาองค์ความรู้ของหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก
ศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น นักเรียน โรงเรียนบ้านบ่อปลาที่กำลังศึกษาในช่วงชั้นที่2 (ชั้นป.4,5,6) ปีการศึกษา 2550 จำนวน 70 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อปลา จำนวน 59 คน
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 (พฤศจิกายน 2550-กุมภาพันธ์ 2551)
4 รายวิชาที่ศึกษากลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1. ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้
2. องค์ความรู้เรื่องการผลิตปุ๋ยหมัก
3. ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้น ป.4,5,6)โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น

ประโยชน์ของการวิจัย

1. ได้แนวทางสำหรับผู้สนใจในการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาและเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจของท้องถิ่น
2. ได้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพที่มีเนื้อหาสอดคล้องและเหมาะสมกับ
ท้องถิ่นสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนได้

นิยามคำศัพท์เฉพาะ
1. การจัดการเรียน หมาย
2. หลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ หมายถึง หลักสูตรในลักษณะการจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม ประกอบด้วยเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในการเรียนตามเนื้อหาหลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ
4. นักเรียน หมายถึง นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ใน ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้น ป.4,5,6) โรงเรียนบ้านบ่อปลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 70 คน
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หมายถึง สาระการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานอาชีพและเทคโนโลยี มีทักษะการทำงาน ทักษะการจัดการ สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการทำงานอย่างถูกต้องเหมาะสม คุ้มค่า
และมีคุณธรรม สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ๆ สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ มีนิสัยรักการทำงาน เห็นค่าและเจตคติที่ดีต่องาน ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ ความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน อันจะนำไปสู่การให้ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเอง และพึ่งตนเองได้ตามพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ร่วมมือและแข่งขันในระดับสากลในบริบทสังคมไทย
6. โรงเรียนบ้านบ่อปลา หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดทำการสอนทั้งแต่ระดับ ชั้นก่อนประถมวัย อนุบาล 1 และ2 จนถึงช่วงชั้นที่ 1 (ชั้น ป1-3) และ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ (ป.4-6) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นฐานการศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 (อำเภอทุ่งสง)

เรื่องที่ศึกษา การจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาคนและคนเป็นผู้พัฒนาและรับผลของการพัฒนา (ประเวศ วะสี 2530: 17) ประเทศใดที่มีการปรับปรุงคนภาพการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โอกาสพัฒนาประเทศย่อมมีความเป็นไปได้มากที่สุดเช่นกัน (กรมวิชาการ 2534: 1-2) ดังที่ ภิญโญ สาธร (2532: 3) กล่าวว่า “... การศึกษาจะดีหรือ ไม่ดีอยู่ที่องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ หลักสูตรเพราะหลักสูตรคือ แผนงานที่จัดให้มีการเรียนรู้ ถ้าแผนงานไม่ดีการจัดให้มีการเรียนรู้ก็ไม่ดีไปด้วย...” ในทำนองเดียวกัน โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2535: 2) กล่าวว่า“...หลักสูตรเป็นตัวคาดหวังเป็นตัวที่มองไปสู่อนาคต อนาคตจะเป็นอย่างไรหลักสูตรเป็นตัวนำเราที่จะพัฒนาไปสู่จุดนั้น...” สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาตลอดมา รัฐบาลมุ่งเน้น และให้ความสำคัญในการให้การศึกษากับประชาชนทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐ ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน (มาตรา43)

ปัจจุบันประเทศไทยได้จัดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อมาพิจารณาความสำคัญของการจัดการศึกษาแต่ละระดับแล้วจะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมนั้นเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน ต้องอาศัยหลักการที่เป็นระบบในการจัด เพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาแต่ละระดับ สำหรับการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษานั้น ถือเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะเป็นการจัดการศึกษาภาคบังคับที่รัฐจัดบริการให้ประชาชนในวัยเรียนทั้งประเทศ จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ อย่างรอบคอบ โดยเฉพาะทางด้านการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ตลอดจนการลงทุนทางการศึกษาให้กระจายไปสู่ระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น (เสน่ห์ จามริก 2528: 3)
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้มุ่งเน้นความต้องการที่หลากหลายของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปตามบริบทของท้องถิ่น ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตจริง จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจของท้องถิ่นของตน สามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีได้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ) 2534: 67)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักด้านการศึกษาฉบับแรกของประเทศไทยที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลกันอย่างกว้างขวางอันเป็นผลกระทบที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาของชาติอย่างมาก ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลในสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทาง วิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (มาตรา 4) การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และ วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) ตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาโดยมีหลักสูตรเป็นตัวจักรสำคัญอันเป็นหลักในการพัฒนาการศึกษา ฉะนั้นในการจัดทำหลักสูตรจึงควรกำหนดให้มีทั้งหลักสูตรแกนกลางสำหรับคนทั้งประเทศ และหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับคนในแต่ละท้องถิ่น ให้หลักสูตรยืดหยุ่นได้ตามสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป (สวัสดิ์ จงกล 2528: 45) และนอกจากนี้ บรรพต สุวรรณประเสริฐ (2544: 6) ได้กล่าวว่า

4
… ความต้องการของสังคม และการเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นผลทำให้หลักสูตรทางการศึกษาต้องมีการเปลี่ยนแปลงตาม เพื่อเตรียมตัวผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ที่จะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเชื่อว่าเนื้อหาหลักสูตรต่างๆ ที่ทางการศึกษาจัดเตรียมไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนนำไปใช้ในสถานการณ์หรือในอนาคตข้างหน้าได้...
นอกจากนี้ พนม พงษ์ไพบูลย์ (2536: 13) ยังได้กล่าวว่าการทำให้หลักสูตรการเรียนการสอน ยืดหยุ่น สอดคล้อง และหลากหลายนั้น จำเป็นต้องกระจายความรับผิดชอบในการปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรให้กับสถานศึกษาให้มากที่สุด แต่ต้องให้อำนาจการกำกับดูแลอยู่กับจังหวัด เพื่อให้ใกล้ชิดกับสถานศึกษาด้วย นี้คือที่มาของความคิดเรื่องหลักสูตรท้องถิ่น คือ ให้ท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ โรงเรียน ชุมชน อำเภอ จังหวัด มีส่วนร่วมให้มากที่สุด...
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ยังได้กำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ ตลอดจนการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ (มาตรา 27) เพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวผู้วิจัย จึงได้ดำเนินการประชุมระดมความคิดเห็น และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในท้องถิ่น เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น สภาพปัจจุบัน และปัญหาความต้องการของท้องถิ่น สำรวจสภาพความต้องการของผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์รายละเอียดจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และความต้องการเร่งด่วน พบว่า ปัญหาสำคัญของท้องถิ่น ที่กำลังทวีความรุนแรง คือ ปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ที่เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประกอบกับการละเลยต่อการใช้ที่ขาดความรู้ ความรู้เท่าไม่การณ์ และประสบการณ์ด้านต่างๆเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรดินอย่างถูกวิธี
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วิจัย เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้กระบวนการทางการศึกษา ในการอบรมสั่งสอน ปลูกฝังให้เยาว์ชนคนท้องถิ่น ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรดิน สร้างจิตสำนึก ร่วมกันอนุรักษ์ใช้และปรับปรุงดินอย่างถูกวิธีตามวิธีธรรมชาติ อย่างยั่งยืนตามวิถีทางธรรมชาติ เพื่อลูกหลานสืบไป จึงได้มีความสนใจที่จะพัฒนาหลักสูตรของถิ่น รายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบ่อปลา ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ อย่างคุ้มค่า ในลักษณะของการจัดทำวิชา
เพิ่มเติมเป็นรายวิชาเลือกเสรี เพื่อใช้เป็นหลักสูตรระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในท้องถิ่นที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการปลูกยางพารา ที่ใช้ดินเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาของท้องถิ่น ทำให้คนในท้องถิ่นมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวเรื่องดินตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญและประโยชน์ของดิน ตลอดจนเกิดจิตสำนึก และปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในการอนุรักษ์ และปรับปรุงบำรุงดิน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าจนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ หวงแหนและผูกพันกับท้องถิ่นของตนเองตลอดไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ศึกษาองค์ความรู้ของหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก
ศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น นักเรียน โรงเรียนบ้านบ่อปลาที่กำลังศึกษาในช่วงชั้นที่2 (ชั้นป.4,5,6) ปีการศึกษา 2550 จำนวน 70 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อปลา จำนวน 59 คน
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 (พฤศจิกายน 2550-กุมภาพันธ์ 2551)
4 รายวิชาที่ศึกษากลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาการผลิตปุ๋ยหมัก

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1. ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้
2. องค์ความรู้เรื่องการผลิตปุ๋ยหมัก
3. ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้น ป.4,5,6)โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น

ประโยชน์ของการวิจัย

1. ได้แนวทางสำหรับผู้สนใจในการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาและเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจของท้องถิ่น
2. ได้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพที่มีเนื้อหาสอดคล้องและเหมาะสมกับ
ท้องถิ่นสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนได้

นิยามคำศัพท์เฉพาะ
1. การจัดการเรียน หมาย
2. หลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ หมายถึง หลักสูตรในลักษณะการจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม ประกอบด้วยเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในการเรียนตามเนื้อหาหลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ
4. นักเรียน หมายถึง นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ใน ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้น ป.4,5,6) โรงเรียนบ้านบ่อปลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 70 คน
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หมายถึง สาระการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานอาชีพและเทคโนโลยี มีทักษะการทำงาน ทักษะการจัดการ สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการทำงานอย่างถูกต้องเหมาะสม คุ้มค่า
และมีคุณธรรม สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ๆ สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ มีนิสัยรักการทำงาน เห็นค่าและเจตคติที่ดีต่องาน ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ ความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน อันจะนำไปสู่การให้ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเอง และพึ่งตนเองได้ตามพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ร่วมมือและแข่งขันในระดับสากลในบริบทสังคมไทย
6. โรงเรียนบ้านบ่อปลา หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดทำการสอนทั้งแต่ระดับ ชั้นก่อนประถมวัย อนุบาล 1 และ2 จนถึงช่วงชั้นที่ 1 (ชั้น ป1-3) และ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ (ป.4-6) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นฐานการศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 (อำเภอทุ่งสง)

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551

การจัดการเรียนรู้บูรณาการโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจพอเพียง

การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับท้องถิ่น ที่ยั่งยืน จำเป็นต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความตระหนัก จิตสำนึก และมีทักษะกระบวนการในงานอาชีพของท้องถิ่น ที่ตนอาศัยอยู่ สถานศึกษาเป็นหน่วยที่อยู่ใกล้ชิดและรับผิดชอบงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับคน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีนิสัยรักในงานอาชีพ มีความซื่อสัตย์ เสียสละ คุณธรรมอันเป็นผลเมืองที่ดีและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
ข้าพเจ้าได้วิจัย เรื่อง การจัดการเรียนรู้บูรณาการโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจพอเพียง ของชุมในเขตบริการ โรงเรียนบ้านบ่อปลา หมู่ที่ 8 ตำบลกรุงหยัน อำเภอท่งใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อสนับสนุนให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ใช้ประโยขน์แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาและใช้หลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับโรงเรียนอย่างน้อย 3 แหล่ง
การศึกษาครั้งนี้ได้พบว่า 1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถใช้แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
2. ได้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตเห็ดฟางจากทะลายปาล์มน้ำมัน 1 แหล่ง แหล่งเรียนรู้เรื่อง การ ผลิตป๋ยหมักชีวภาพ 1 แหล่งเรียนรู้ เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ 1 แหล่ง และ การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ชนิดต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ในครัวเรือนได้อย่างมีประสิทะภาพและ ทำให้ชีวิตครอบครัว เกิดความประหยัด และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

ghcgh

-Happy new year 2008 ขอให้อาจารย์จงประสบแต่ความสุขตลอดปี 2551
-ขอบคุณอาจราย์ blog ของผมได้สร้างถูกต้องแล้ว

จาก...ไพศาล บุญทอง